- หน้าหลัก
- ประวัติ ศธภ.8
- หน้าที่และอำนาจ
- โครงสร้าง/บุคลากร
- ข้อมูลผู้บริหาร
- แผนที่ตั้ง ศธภ.8
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ
- ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ
- คำรับรองและรายงานผลการปฏิบัติราชการ
- ที่ตั้ง ศธจ.
- กฎหมายการศึกษา
- กลุ่มอำนวยการ
- กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา
- กลุ่มบริหารงานบุคคล
- กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล
- กลุ่มพัฒนาการศึกษา
- ติดต่อเรา
- ช่องทางร้องเรียน
- FAQ
- ข้อมูลบริการ
- ระบบการลา
- ระบบงานสารบรรณ

ประวัติ ศธภ.8
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานศึกษาธิการภาค 8
*****************
เมื่อ พ.ศ. 2452 โดยกระทรวงธรรมการได้แต่งตั้งข้าหลวงธรรมการมณฑลไปประจำครบทุกมณฑลและเรียก ชื่อใหม่ว่า "ธรรมการมณฑล" เพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบวางแผนการเล่าเรียนและทำรายงานประจำปียื่นต่อกรมศึกษาธิการ เช่นเดียวกับที่กรมศึกษาธิการให้ตั้งสารวัตรใหญ่การศึกษา 1 สำหรับแต่ละมณฑลใหญ่ ตามโครงการศึกษาของชาติใน พ.ศ. 2441
พ.ศ. 2458 หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งอาณาเขตตรวจการศึกษาหัวเมืองออกจากมณฑลกรุงเทพ โดยแบ่งออก เป็น 4 ภาค ได้ตั้งตำแหน่ง "ข้าหลวงตรวจการประจำภาค" ภาคละ 1 คน โดยให้ข้าหลวงตรวจการประจำภาค มีหน้าที่ตรวจราชการแผนกธรรมการ เพื่อดูแลการงานให้เป็นไปตามระเบียบ สิ่งใดควรเสนอต่อสมุหเทศาภิบาลก็ให้เสนอโดยตรง
พ.ศ. 2476 ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่ง "ข้าหลวงตรวจการธรรมการ" ขึ้น 9 ตำแหน่งให้ประจำอยู่จังหวัด อันเป็นที่ตั้งมณฑลเดิมเพื่อจะได้ตรวจตรางานอย่างใกล้ชิด
พ.ศ. 2479 ได้ประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติใหม่ สำหรับโรงเรียนรัฐบาลในส่วนภูมิภาคจะคงมีเฉพาะธรรมการจังหวัดเป็นเจ้า หน้าที่คอยตรวจตรา แนะนำ ทั้งฝ่ายวิชาการและธุรการ สำหรับข้าหลวงตรวจการธรรมการ เป็นเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราดูแลกำกับอีกชั้นหนึ่ง
พ.ศ. 2484 กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงศึกษาธิการ" มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และศิลปากร ได้มีการตั้ง "ข้าหลวงตรวจการศึกษาภาค" โดยได้กำหนดหน้าที่ของข้าหลวงตรวจการศึกษาภาคดังต่อไปนี้
1. ข้าหลวงตรวจการศึกษาภาค เป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค ตรวจตราสอดส่องกิจการแผนกศึกษาธิการและความประพฤติของข้าราชการ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในกิจการแผนกศึกษาธิการ
2. ประสานงานซึ่งต้องปฏิบัติร่วมกันระหว่างจังหวัดในภาคของตน ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
3. เร่งรัดแก้ไขอุปสรรคการงาน และประสานสามัคคีระหว่างข้าราชการในจังหวัดหรือระหว่างจังหวัดในภาคของตน
4. ให้ความร่วมมือกับข้าหลวงตรวจการภาคของ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แห่งกิจการส่วนรวม
พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 สำหรับการแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการประจำภาค เดิมกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งข้าหลวงตรวจการศึกษาภาค ไปเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำภาค แต่ตำแหน่งไม่สอดคล้องกันกับผู้ว่าราชการภาค จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบบริหารราชการสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2495 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2495 แบ่งภาคการศึกษา ตามภาคการปกครอง และได้กำหนดตำแหน่ง "ศึกษาธิการภาค" ขึ้นแทน
พ.ศ. 2500 ได้เปลี่ยนชื่อศึกษาธิการภาค เป็น "ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ" เพื่อให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ใหม่ และมีการกำหนดระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง ศึกษาธิการ โดยกำหนดสังกัดและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. สังกัดของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นข้าราชการส่วนกลาง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจและหน้าที่
2. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
2.1 ตรวจและแนะนาชี้แจงราชการ อันเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย ระเบียบแบบแผน คำสั่ง หรือคาวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี สำนักคณะรัฐมนตรีและกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 เสนอความเห็นหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อราชการต่าง ๆ แก่กระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่กระทรวงศึกษาธิการสั่งการ
2.3 ตรวจพิจารณา รายงานการตรวจราชการ และรายงานการประชุมของศึกษาธิการจังหวัดเพื่อได้หาทางแก้ไขปรับปรุง ส่งเสริมการศึกษา พ.ศ.2504 ได้มีกฎ ก.พ. ฉบับที่ 300 (พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 ประกาศเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2504 เปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็น "ผู้ตรวจการศึกษา"
พ.ศ. 2516 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการเปลี่ยนชื่อภาคศึกษาเป็น เขตการศึกษา มีจำนวน 12 เขต ซึ่งมีลำดับชื่อเขตการศึกษาและจังหวัดภายในเช่นเดียวกับภาคศึกษา และเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ตรวจการศึกษาเป็น “ศึกษาธิการเขต”
พ.ศ. 2520 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่กระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขตการศึกษา 1 – 12 และเพิ่มเขตการศึกษากรุงเทพมหานครอีก 1 เขต ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต เนื่องด้วยในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มีประเภทและปริมาณโรงเรียนอยู่ในความรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก จึงสมควรแบ่งเขตรับผิดชอบในการปฏิบัติงานสาหรับกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นเป็น อีกเขตหนึ่งต่างหาก จากเขตการศึกษา 1 ที่สังกัดเดิม
พ.ศ.2526 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอำนาจหน้าที่และแนว ปฏิบัติราชการของศึกษาธิการเขต โดยกำหนดให้ศึกษาธิการเขตเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงที่ปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานศึกษาธิการเขต และเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างที่กรมหรือส่วน ราชการที่มีฐานะเป็นกรม ส่งไปประจำปฏิบัติในสำนักงานศึกษาธิการเขต รวมทั้ง กำหนดอำนาจหน้าที่ภายในเขตการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติงานทางวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามนโยบายและคาสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคือ
1.1 ดำเนินการและรับผิดชอบ ในงานการสำรวจวิจัยและพัฒนาการศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรม
1.2 ส่งเสริมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน เพื่อให้ได้ผลตามหลักสูตรและร่วมมือประสานงานกับจังหวัดและท้องถิ่นในการ จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ศึกษา ติดตาม และประเมินผลมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา เพื่อให้บังเกิดผลดี
2. ตรวจนิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานในสังกัด และหน่วยงานในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย คำสั่ง ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน รวมทั้งหลักการและวิธีการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการและสถานศึกษา
3. อบรมครูและเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ประสานงานกับกรม จังหวัด ส่วนราชการ และสถานศึกษา ในการวางแผนและทาโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา การวัฒนธรรม และงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นงานในหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การดาเนินการเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย
5. ปฏิบัติงานตามโครงการและงานต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการและกรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามที่ได้รับมอบหมาย
6. รายงานความเคลื่อนไหวหรือเหตุการณ์ทางการศึกษา การศาสนา การวัฒนธรรม ตลอดถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุ ต่อกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบทันท่วงทีเมื่อมีความจาเป็นจะต้องปูองกันหรือปรับปรุงแก้ไข
7. ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด และในความควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นในการแก้ไขปรับปรุงต่อกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2535 สานักงานศึกษาธิการเขต ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สานักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตการศึกษา 1 – 12 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพงานในขณะนั้น โดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติงานวิชาการด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม รวมทั้ง สนับสนุนการปฏิบัติงานทางวิชาการแก่สานักงานศึกษาธิการจังหวัด สานักงานศึกษาธิการอำเภอ และหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนการดาเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของเขตการศึกษา
2. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักสูตร และวิธีการจัดการศึกษา ตลอดจนติดตามผลการใช้หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมและควบคุมมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
3. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานทางวิชาการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ให้เป็นไปตามหลักวิชาการและแผนงานของกระทรวง
4. ประสานและดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
5. ปฏิบัติงานร่วมมือกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2545 กระทรวงศึกษาธิการได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2546 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้กรมต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการจาก 14 กรม ได้ถูกปรับเหลือเพียงหน่วยงานหลัก 5 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการแบ่งส่วนราชการภายใน ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานการตรวจราชการ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ดังนั้น จึงได้ประกาศจัดตั้งหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยจัดตั้งให้ สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา (เดิม) เป็นสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ 1–12 และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ให้เป็นหน่วยงานภายในมีฐานะเทียบเท่าสำนักในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูล สารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนการตรวจราชการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามนโยบายและแผนการติดตาม และประเมินผลของกระทรวง
3. วิจัยและพัฒนาระบบและประสานเครือข่ายการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลของกระทรวงศึกษาธิการ
4. ปฏิบัติการร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2547 ได้มีการปรับเปลี่ยนเขตตรวจราชการใหม่ ให้สอดคล้องกับเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีและเขตตรวจราชการกระทรวง อื่น ๆ กระทรวงศึกษาธิการ จึงยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และประกาศจัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยให้สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ มีหน้าที่เช่นเดิม
พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2547 และประกาศจัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยให้สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่เช่นเดิม ต่อมาในปีเดียวกันนั้น กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ประกาศจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการ ศึกษาที่ 1–12 และกรุงเทพมหานคร ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 – 12 และกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ .2551 โดยยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ 1 – 12 และ กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการให้เกิดการขับเคลื่อน เชื่อมโยงนโยบาย และยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติระดับกลุ่มจังหวัด โดยการนำยุทธศาสตร์และการบูรณาการการจัดการศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างเหมาะ สม ตามบริบทของสังคม เศรษฐกิจ ประเพณี และวัฒนธรรม ทั้งนี้ โดยได้กำหนดให้สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 – 12 และ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานภายในมีฐานะเทียบเท่าสำนักในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ขับเคลื่อน เชื่อมโยง นโยบาย และยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติระดับกลุ่มจังหวัด
2. จัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดให้เกิดการเสริมพลังและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และติดตามประเมินผล เพื่อจัดทาข้อเสนอแนะในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดาเนินงาน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ
4. เป็นเครือข่ายตามพันธกิจของหน่วยงานในสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการตามที่ได้รับมอบหมาย
5. เป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในระดับกลุ่มจังหวัด ในการปฏิบัติภารกิจการพัฒนาตามที่ได้รับมอบหมาย
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2555 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1–12 และ กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และประกาศจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 (ศธภ. 1-13) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสานักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นหน่วยงานภายในที่มีฐานะเทียบเท่าสำนัก สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจ อำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ด้านภารกิจ
สำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 มีภารกิจเกี่ยวกับการเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริม สนับสนุน อำนวยการ และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กลุ่มจังหวัด จังหวัด และเขตตรวจราชการ
2. ด้านอำนาจหน้าที่
2.1 จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการและงบประมาณให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงและบริบทของพื้นที่
2.2 ติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง
2.3 จัดทำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
2.4 ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
2.5 ศึกษา วิเคราะห์ สภาวการณ์ทางการศึกษาตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง
2.6 ดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมทางการศึกษา และส่งเสริมการประสานกิจกรรมทางการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการกีฬาเพื่อการศึกษา
2.7 ดำเนินการในฐานะเป็นหน่วยฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.8 เป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในระดับกลุ่มจังหวัด
2.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2559 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ข้อ 2 กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดโดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่
2) สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา
3) กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
4) สนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตำมนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ
5) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชำชนเป็นหลัก
6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2560 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภุมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 5 กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด โดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่างๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่
2) สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา
3) กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
4) สนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตำมนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ
5) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชำชนเป็นหลัก
6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2562 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง สถานที่จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่ 221/2561 ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 กำหนดพื้นที่ตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ โดยมีเขตตรวจราชการส่วนกลาง และเขตตรวจราชการที่ 1 ถึงเขตตรวจราชการที่ 18 แฃะคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ได้มีประกาศ ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด โดยจัดตั้งกลุ่มจังหวัดจำนวน 18 กลุ่มจังหวัด 6 ภาค จึงเป็นเหตุให้สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 18 ภาค ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รับผิดชอบดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดไม่สอดคล้องกับเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และกลุ่มจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ดังกล่าว จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดสถานที่ตั้งของสำนักงานศึกษาธิการภาค ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 และประกาศสถานที่จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 เปลี่ยนเป็น ข้อ 8 สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ตั้งอยู่เลขที่ 111/200 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี รับผิดชอบดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง โดยให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับข้าราชการ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ไปเป็นของสำนักงานศึกษาธิการภาค 8